Health

ยาลดน้ำมูกกับการล้างจมูกในเด็กเล็ก

เรื่องไข้หวัดเราเคยคุยกันไปแล้วไม่คุยใหม่ละเนอะ เดี๋ยวจะยาวเฟื้อยไปกว่านี้ สนใจหัวข้อไหนไปไล่อ่านกันได้ ตามลิ้งค์ข้างล่างสุดเลยนะค

ส่วนวันนี้เรื่องที่เราจะคุยกันนั้น จะเฉพาะเจาะจง #ว่าด้วยเรื่องของการใช้ยาลดน้ำมูกในเด็กเล็ก มาดูซิว่าเราจะรับมือกับอาการนี้ยังไงดี
13164482_489387964595464_7506956572248650201_n
เอาล่ะ พร้อม!! เริ่มกันเลย  

ยาที่ใช้ในการรักษาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ..
 1.ยาแก้แพ้ (Antihistamines)
แบ่งออกเป็น 2 รุ่น
• รุ่นเก่า (1st Generation)
เช่น Chlopheniramine, Diphenhydramine, Brompheniramine
สามารถช่วยลดอาการน้ำมูกไหลได้ดี
**แต่มีผลข้างเคียงได้แก่ อาจง่วงนอนปากแห้ง คอแห้งได้
• รุ่นใหม่ (2nd Generation)
เช่น Loratadine, Cetirizine, Levocetirizine, Fexofenadine
**ผลข้างเคียงเรื่องการง่วงซึมลดลง ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น
 2.ยาแก้คัดจมูก (Decongestants)
iliadin (Oxymetazoline Hydrochloride)
• การที่เด็กคัดจมูกบางทีไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีน้ำมูกอย่างเดียว แต่อาจมีสาเหตุจาก “เส้นเลือดในโพรงจมูกบวม” ร่วมด้วย ทำให้หายใจไม่สะดวกไปกันใหญ่ ยา iliadin จะออกฤทธิ์โดยส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดในบริเวณที่พ่นยา(ในโพรงจมูก) ทำให้ลดอาการบวมและช่วยลดการหลั่งเยื่อเมือกต่างๆได้ ทำให้ความรู้สึกหายใจติดขัดคัดแน่นจมูกลดลง แต่ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องติดกันเกิน3-5วัน เพราะอาจเกิดภาวะแน่นจมูกกลับมาใหม่ได้ (rebound congestion)
**ผลข้างเคียงของยา อาจทำให้รู้สึกแสบคันบริเวณสัมผัสยา อาจพบอาการจาม ปากแห้ง/คอแห้ง ไปจนถึงคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ

#แต่ส่วนตัวแล้วในเด็กเล็กไม่ค่อยอยากแนะนำให้กินเท่าไหร่เลย ><*
ห๊ะะะะะ !! เล่ามาตั้งยาว ไม่แนะนำให้กินเนี้ยนะ !! แล้ววลูกน้ำมูกไหลจะให้ทำไงคะคุณเภสัช!! (คิดอย่างงี้ในใจกันอยู่ล่ะสิ 555555) โดยหลักการแล้วคือกินได้ค่ะ เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น #ห้ามซื้อยามาให้ลูกทานเองมั่วซั่วเด็ดขาดนะ #เก๊าาขอร้อง แต่จริงๆแล้วเรายังมีอีกวิธีที่เป็นทางเลือกที่ดีงามและปลอดภัย นั่นก็คือ “การล้างจมูก”

#สำหรับเรื่องการล้างจมูก บางคนไม่อิน คิดว่าไม่สำคัญ บางคนคิดในใจว่าดีจริงๆเหรอ ทำไม่ได้ ยากจัง บางคนไม่กล้าทำ ขอยืนยันว่ามันดีจริงๆค่ะ ยกตัวอย่างให้ฟังง่ายๆจะได้เห็นภาพ สมมติว่าเรามีจานอยู่ใบนึง เทน้ำเต้าส่วนไว้บนจานบางๆ (คล้ายน้ำมูกดี ขอโทษสำหรับคนชอบทานนะคะ ><* 555555) แล้วตั้งทิ้งไว้ซักพักจนแห้งติดจาน คำถามคือ.. หลังจากเต้าส่วนแห้งแล้ว จานใบนี้สะอาดขึ้นไม๊คะ ? คำตอบคือ “ไม่สะอาดขึ้นแน่นอน” โอเคมันอาจจะแห้งแล้วไม่หกเลอะเทอะ แต่คราบมันยังติดอยู่ที่จานไม่ได้สะอาดขึ้นเลย ลองเปรียบเทียบจานกับร่างกายที่ได้รับยาลดน้ำมูก น้ำมูกอาจจะไม่ไหลออกมาแล้วก็จริง แต่ก็ยังคงแห้งกรังอยู่ในทางเดินหายใจของเรา แย่ไปกว่านั้นอาจข้นจนเป็นเสลด แต่ถ้าเราเอาจานไปล้าง รับรองว่าสะอาดใสปิ๊งแน่นอน ในทำนองเดียวกัน #เรื่องของการล้างจมูก ก็คือการที่เราใช้น้ำเกลือไปชะล้างสิ่งสกปรกที่อยู่ในโพรงจมูก เช่นน้ำมูก น้ำมูกที่แห้งเข้าใจว่าอยากให้ลูกหาย แต่บางทีการใช้ยาก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของการรักษาโรคนะคะ

ฝากคลิปพีต้าโชว์ล้างจมูกตั้งแต่ประมาณ4-5เดือน เผื่อใครอยากดูวิธีการ (จริงๆถ้าทำได้ควรก้มหน้ามากกว่าในคลิปนิดนึง)
https://youtu.be/NpnPRRhamAg

**บางคนอาจจะกลัวว่าลูกจะสำลัก ต้องบอกว่าแรกๆที่เค้าจับจังหวะไม่ถูกอาจจะมีบ้าง แต่หวานเคยปรึกษาคุณหมอเด็กแล้วว่ากลไกของร่างกายนี้มันแสนมหัศจรรย์ เค้ามีการปกป้องตัวเค้าเองเป็นอย่างดี จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะสำลักลงปอดค่ะ แต่ถ้าท่านไหนยังไม่มั่นใจ ครั้งแรกแนะนำให้ไปให้โรงพยาบาลทำให้ดูก่อนก็จะได้สบายใจ และมั่นใจขึ้นค่ะ**

#จากใจเภสัชกรแม่ลูกอ่อน

#ไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล หรือ #ไปร้านยาถามหาเภสัชกรกันดีก่า#ปลอดภัยไว้ก่อน

————————–—–
บทความเกี่ยวกับสุขภาพลูกรักอ่านย้อนหลังได้ตามนี้เลยค่า
•ทำอย่างไรให้ลูกไกลไข้หวัด
http://www.happymommydiary.net/2016/04/18/preventionbabyflu/
•การปฏิบัติตัวและยาที่ใช้เมื่อลูกรักเป็นหวัด
http://www.happymommydiary.net/2016/04/18/babyflu/
•ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในเด็กเล็
http://www.happymommydiary.net/2016/03/07/antibioticsforbaby/
•ยาลดไข้ที่ใช้ในเด็กเล็ก
http://www.happymommydiary.net/2016/05/10/medicationsusedtotreatfever/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *