Happy Tips · Travel

จัดกระเป๋ายาพาลูกเที่ยว

ใครกำลังวางแผนจัดกระเป๋าอยู่ ต้องแวะป้ายนี้เลยน๊าาาา 🤗

ถามว่าจำเป็นไปไม๊ ต้องเล่นใหญ่เบอร์นี้.. อันนี้ก็แล้วแต่วิจารณญาณในการเดินทางของแต่ละบ้านเลยค่ะ แต่ทางเรายึดหลักการที่ว่า “เหลือดีกว่าขาด” เตรียมไปแต่ไม่ได้ใช้ ดีกว่าอยากใช้แต่หาไม่มี ยิ่งถ้าไปในประเทศที่ใช้ภาษาที่3(No English) นี่แม่หวาดหวั่น กลัวจะสนทนาพาทีกับเค้าไม่รู้เรื่อง ไปไม่เป็นเหมือนกัน😆😆 เรื่องอื่นยังพอใช้ภาษามือได้แต่เรื่องยานี่จะทำท่าไหน หนีห่าว อันยอง คอนนิจิว้า แล้วจะมั่นใจได้ไงว่าได้สิ่งที่ต้องการจริงๆ เรื่องยานี่มันพลาดไม่ได้และไม่ควรเสี่ยง เพราะฉะนั้น จัดไป !! เวลาไปเที่ยวหวานเตรียมอะไรบ้าง มาดูกันค๊าา

💊 กลุ่มไข้หวัดและภูมิแพ้ 

  • ยาลดไข้ (Tempra Kids)เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามีพาราเป็นเพื่อน ตัวนี้ไม่มีแอลกอฮอล์ หวานต้องมีติดกระเป๋าทุกทริปเพื่อความสบายใจ ❤️
  •  ยาแก้ไอละลายเสมหะ (Solmax Kids)
    ไปไต้หวันรอบที่ผ่านมาโชคดีที่พกมาด้วย เฮียพีต้าไอได้ใช้พอดี๊.. เวลาไอนั่นคือ “อาการ” ซึ่งต้องมีสาเหตุ ต้องลองฟังเสียงดู ถ้าไอแบบมีเสมหะก็จัดไปยาละลายเสมหะจ้า ตัวนี้ก็ปราศจากน้ำตาลและแอลกอฮอล์เช่นกัน พีต้าชอบมาก รสองุ่นเปรี้ยวๆหวานๆ เอะอะ..ขอกินยาแพนด้าตล๊อดด 🤣🤣(เพราะขวดเป็นรูปหมีแพนด้า🐼)
  • แผ่นแปะลดไข้
    ลูกยอมแปะมั้ยไม่รู้เอาไปเผื่อไว้ก่อน (เพตั้นดูทรงแล้วท่าจะดึงทิ้งแน่นอน)
  •  ยาลดน้ำมูก (Dimetapp)
    ไม่จำเป็นหวานไม่ใช้ เพราะยิ่งทำให้น้ำมูกลูกข้นทรมานไปกว่าเดิม แต่ติดไว้เผื่อไหลใสๆโจ๊กๆเป็นน้ำจริงๆ ก็จัดซะหน่อย
  •  ยาพ่นจมูก (Otrivin Child)
    มีตัวยาที่ช่วยลดอาการคัดจมูก ทำให้หายใจได้โล่งขึ้น เอาไว้เผื่อเวลาเด็กๆคัดจมูกมากๆ
  • ยาแก้แพ้ (Clarityne)
    เรามันเด็กเขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ไปปะทะอากาศเย็นจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ เตรียมไว้ดีกว่า เผื่อฮัดชิ่ว น้ำมูกไหล ไอจามไม่หยุด เที่ยวจะหมดสนุกซะก่อน

 กลุ่มอาการท้องเสีย อาเจียน 

  • ยาฆ่าเชื้อ (Furox)
    ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการท้องเสียแบบติดเชื้อ
  • แก้อาเจียน (โมทิเลียม)
    ต้องมีไว้เลย เผื่ออยู่ๆเกิดอาเจียนขึ้นมา ยุ่งเลย หมดสนุกกันทุกคน ทริปเซี่ยงใช้มาละจ๊าาา อยู่ดีๆก็อ้วกกันซะงั้น ดีนะแม่ยาพร้อม
  • เกลือแร่
    อันนี้ก็สำคัญ เผื่อไว้ในยามท้องเสีย เพราะถ้าร่างกายสูญเสียน้ำหรือเกลือแร่มากๆ อาจจะช็อคได้นะคะ ค่อยๆให้น้องจิบนะ ไม่ใช่ทานฮวบเดียวเด้อ!
  • ท้องอืด (Air-X)

 กลุ่มเบ็ดเตล็ด
  • น้ำเกลือหยด อันนี้ขาดไม่ได้ เวลาอากาศหนาวๆแห้งๆ ก็หยอดจมูกเด็กๆกันไปคนละคนสองหยด
  • สเปรย์น้ำเกลือ (Hashi)  สมัยก่อนพกแต่แบบหยดราคาถูกกว่าแต่ปิดฝาไม่ได้ ขอบคุณโลกนี้ที่มีแบบสเปรย์ ปิดฝาได้ พกใส่กระเป๋าได้ตลอดเวลา บอกเลยถ้าไปเมืองหนาวอากาศแห้งอันนี้คือสิ่งที่ต้องมี ดีม๊ากๆๆๆๆ  Hashi Clear
  • ผ้าน้ำเกลือ (Tinynose) พกไว้พ่อแม่ใช้ด้วย ไว้เช็ดดน้ำมูกแบบจมูกไม่แดงง ไม่มีระคายเคือง ชอบม๊ากกก ☺️☺️ Tinynose ผ้าเปียกน้ำเกลือสำหรับเด็ก
  •  น้ำเกลือ+อุปกรณ์ล้างจมูก
  • แก้ช้ำ (Hirudoid) การฟกช้ำดำเขียว หัวเขกโน่นโขกนี่ลูกผู้ชายอย่างเราต้องยาแก้ช้ำไว้ติดกระเป๋าเลยจ้า
  • ครีมสเตียร์รอยด์ (Elomet) หวานติดไว้ในกรณีเกิดผื่นแพ้ผื่นคันแบบไม่คาดฝัน พกไว้อุ่นใจค่ะ  ** แต่ห้ามใช้พร่ำเพรื่อเด็ดขาดนะคะ!!
  • ครีม/บาล์ม (Sudocream/Atoai) อันนี้หวานพกไว้ในกระเป๋าเลยค่ะ ทาให้ลูกบ่อยๆ อย่ารอให้แตกแดงแล้วทา ถ้าคิดว่าจะเจออากาศเย็นทาเลย ซ้ำบ่อยๆยิ่งดี กันแก้มแตก ATO AI Thailand  Sudocrem TH

 กลุ่มยาผู้ใหญ่

ดูแลลูกแล้วต้องดูแลตัวเองและพ่อของลูกด้วย อันนี้แถมให้สำหรับยาของผู้ใหญ่ค่ะ 👱🏻‍♀️👱🏻‍♂️

  • พาราเซตามอล (Tylenol)
    เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามีพาราเป็นเพื่อน มีไข้ ปวดหัว จัดไป 1 เม็ดพอ
  •  ยาแก้ท้องเสีย (Imodium)
    เผื่อท้องเสียกะทันหัน แต่ต้องเดินทาง อยากให้หยุดถ่ายเดี๋ยวนั้น
    ** ไม่ควรใช้กรณีสงสัยว่า infective diarrhea
  • อัลตร้าคาร์บอน ผงถ่าน ดูดซับสารพิษเวลาอาหารเป็นพิษ (ให้นมกินได้)
  • พ่นแก้ไอ (KamillosanM) เผื่อไว้ ไอแล้วพ่นเลย รสชาติดี หวานๆเย็นๆ
  • แก้ปวดเกร็งท้อง (Buscopan) เกิดโป๊ะแตก กินไม่ระวัง อาหารเป็นพิษ ปวดท้องหนักมาก ตัวนี้ก็ต้องมีไว้อุ่นใจค่ะ 
  •  เกลือแร่ เหตุผลเดียวกับเด็กเลยค่ะ คือร่างกายถ้าสูญเสียน้ำหรือเกลือแร่มากๆ อาจจะช็อคได้ เช่น ท้องเสียหนักๆ ค่อยๆจิบนะคะ ไม่ทานรวดเดียวค่า
  • แก้แพ้อากาศ (Claritine) ตัวนี้ต้องติดมาเพราะป่าป๊าเลย อากาศเปลี่ยนที ฮัดชิ่วเป็นว่าเล่น จมูกเริ่มฟึดฟัด ก็จัดไป ตัวนี้เป็นแบบไม่ง่วงค่า สามารถพาเราเที่ยวต่อได้สบ๊าย 5555555
  • แก้ปวด (Gofen) เผื่อปวดท้อง ปวดฟันกะทันหัน ปวดขั้นกว่าแบบพาราเอาไม่อยู่แล้วไรงี้ ตัวนี้ต้องกินหลังอาหารทันทีนะคะ (ปวดประจำเดือนก็ตัวนี้ได้นะคะ)
  • ยาลดกรด/ช่วยย่อย

บทความนี้ตั้งใจเขียนเพื่อเป็นเพียง “แนวทาง” ในการจัดกระเป๋ายาพาลูกท่องเที่ยวต่างประเทศ ในส่วนรายละเอียดต่างๆ เช่น ต้องปริมาณกินเท่าไหร่ กินตอนไหน แนะนำให้ไปร้านยา ปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านนะคะ ทุกคนพร้อมดูแลอยู่ค๊าา 😉

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *